เมนู

ภิกขุคณอเปกขภาวปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสาดจารย์ มีพระพุทธฎีกาโปรดประทาน
ดังนี้ว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ จิตตถาคตนี้มาปริวิตกว่าจะไม่บริหารปกครองภิกษุสงฆ์
และจะไม่เป็นกังลงยกย่องภิกษุสงฆ์ สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสประภาษไว้ฉะนี้ ครั้นมาอีกที
หนึ่งเล่า สมเด็จพระอนาวรณญาณเจ้า เมื่อสรรเสริญสภาวคุณแห่งสมเด็จพระเมตไตรยโพธิ
สัตว์เจ้า อันจะมาตรัสในอนาคตกาลภายหน้านั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้ามีพระพุทธฎีกา
ตรัสว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้เหนื่อยหน่ายในวัฏสงสาร สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า
เมื่อมาตรัสนั้น พระองค์จะบริหารปกครองพระภิกษุสงฆ์มากกว่าพัน เหมือนตถาคตบริหาร
ปกครองพระภิกษุสงฆ์มากกว่าร้อยอยู่ทุกวันนี้ โยมรำพึงดูคำทั้งสองนี่ไม่ต้องกัน จะเชื่อคำ
ภายหลังที่ตรัสว่า สมเด็จพระพุทธเมตไตรยมาตรัส จักบริหารปกครองภิกษุสงฆ์มากกว่าพัน
ทุกวันนี้ตถาคตนี้บริหารปกครองภิกษุสงฆ์มากกว่าร้อย คำเดิมที่ตรัสว่าไม่ดำริที่จะบริหาร
พระภิกษุสงฆ์และไม่เป็นกังวลยกย่องภิกษุสงฆ์คำนี้ก็เป็นมิจฉา ครั้นว่าจะเชื่อเอาคำเดิมนี้
คำภายหลังก็จะผิด อยํ ปญฺโห ปริศนานี้เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์โปรดวิสัชนาในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ภาสิตเมตํ มหาราช ภควตา ขอถวายพระพร บพิตรพระ
ราชสมภาร คำทั้งสองประการที่สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ มีพระพุทธฎีกาโปรดประทาน
ไว้วา ดูกรสำแดงอานนท์ เอวํ จิตฺตํ จิตของตถาถตนี้มาปริวิตกว่าจะไม่บริหารปกครองภิกษุ
สงฆ์ และจะไม่เป็นกังวลยกย่องภิกษุสงฆ์ คำเดิมว่ากระนี้ ครั้นมาภายหลังเล่า สมเด็จพระ
มหากรุณาธิคุณเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญสภาคคุณอันใหญ่แห่งสมเด็จพระเมตไตรยเจ้า จึงมี
พระพุทธฎีกาตรัสโปรดประทานว่า เมื่อพระศรีอาริยโพธิสัตว์ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จัก
บริหารปกครองภิกษุสงฆ์มากกว่าพัน เหมือนตถาคตบริหารปกครองภิกษุสงฆ์ มีกำหนด
มากกว่าร้อยอยู่ทุกวันนี้ คำทั้งสองนี้มีอรรถต่างกัน คำเดิมนั้นมีอรรถเป็นสาวเสส คำภายหลัง
เป็นนิราวเสส สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณมิได้ทรงดำเนินตามบริษัทสาธุชนทั้งหลาย บริษัท
สาธุชนทั้งหลายตามสมเด็จพระองค์ ถ้อยคำที่ว่า อหํ มมํ นี้เป็นแต่สมมติไม่ใช่ปรมัตถ์ พระ
พุทธองค์เจ้าปราศจากความรักความเยื่อใยแล้ว ไม่คิดยึดถือว่าของเรา เป็นแต่อาศัยความยึด
เหนี่ยวเนื่องถึงกันเท่านั้น มีอุปมาดุจหนึ่งว่า แผ่นพสุธาดลอันใหญ่เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์
ทั้งหลาย แผ่นพสุธาจะได้ยินดียินร้ายแก่สัตว์ทั้งหลาย ว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นของอาตมา หรือไม่
เป็นของอาตมามิได้ อุปสฺสยํ เทติ ให้ที่อาศัยแก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไปไม่เลือกหน้า ยถา มี
ครุวนาฉันใด สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้านี้ สพฺพสตฺตานํ ปติฏฺฐา ก็เป็นที่พึ่งอาศัยแก่เวไนย-

สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่เลือกหน้า จะได้ว่าสัตว์นี้อาศัยพระองค์ เป็นของพระองค์หรือไม่เป็น
ของพระองค์หามิได้ มีอุปไมยเหมือนพื้นพสุธาดลฉะนั้น อนึ่งเปรียบดุจห่าฝน นะบพิตรพระ
ราชสมภาร ธรรมดาว่าห่าฝนนั้น บันดาลตกลงมาให้จำเริญแก่มนุษย์นิกรสัตว์ทั้งหลาย กับทั้ง
ต้นไม้และเส้นหญ้า สพฺพสตฺตานํ อนุปาลยติ เลี้ยงรักษาสัตว์ทั้งหลาย ฝ่ายว่าสัตว์ทั้งหลายนี้
วุฏฺฐีหิ อุปชีวิโน ได้เลี้ยวชีวิตเพราะฝน ฝนั้นจะมีเจตนาเพ่งเอาสัตว์ทั้งหลาย ว่าสัตว์ทั้งหลาย
อาศัยอาตมาหามิได้ ยถา มีครุวนาฉันใด บพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรมโลกนาถ
ศาสดาจารย์ยังกุศลธรรมให้บังเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย เลี้ยงสัตว์ทั้งหลายด้วยศีล และพระองค์จะ
ได้ทรงจินตนาการว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นของพระองค์ หรือไม่ใช่ของพระองค์หาบ่มิได้ เหตุดังนี้เป็น
ฉันใด เป็นด้วยเหตุว่าพระองค์มิได้มีอัตตานุทิฐิ คือความเห็นอันไปตามซึ่งตน ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีน้ำพระทัยไม่กังขา จึงได้มีพระราชโองการ
ตรัสสรรเสริญว่า ปัญหานี้พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้สิ้นกังขาเข้าใจได้แล้ว ปัญหานี้ลึกล้ำคัมภีรภาพ
อุตฺตานีกตา พระผู้เป็นเจ้ากระทำให้ตื้นง่ายดาย คณฺฑิภินฺนา พระผู้เป็นเจ้ากระจายเสียซึ่งที่อัน
ฟั่นเฝือบรรดาจะจับต้องบ่มิได้ พระผู้เป็นเจ้ากระทำให้จับต้องได้ง่าย ๆ อนึ่งคำปรับปวาท
ทั้งหลาย ที่มีสอดแคล้วเข้ามา ภคฺคา พระผู้เป็นเจ้าหักเสียสิ้นสุด ประทานดวงตาแก่พระชิน-
บุตรไว้ จะได้สว่างไปข้างหน้าในกาลบัดนี้
ภิกขุคณอเปกขภาวปัญหา คำรบ 10 จบเพียงนี้
จบทุติยวรรค

ตติยวรรค


วัตถุคุนหทัสสนปัญหา ที่ 1


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ สมเด็จพระพิชิตมารเมาลี มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า
กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ วาจาย สํวโร
มนสา สํวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
ดังนี้
กระแสพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้ว่า การสำรวมนี้ดีนักหนา สำรวมกายก็ดี สำรวมวาจาก็ดี
สำรวมจิตก็ดี และสำรวมได้หมดก็ดี ก็ประเสริฐ นี่แหละสมเด็จพระเมาลีโลกเลิศ มีพระพุทธ-
ฎีกาตรัสสรรเสริญซึ่งสำรวมว่าดีดังนี้ ครั้นมาอีก พระชินสีห์เสด็จทรงนั่ง จตุนฺนํ ปริสานํ
มชฺเณ
ในท่ามกลางแห่งบริษัททั้งสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระองค์มิได้สำรวมซึ่ง
บวรกาย จะมีความละอายหามิได้ ไพล่พลิกคุยหะออกให้เสลพราหมณ์ดูเล่น ที่ท่ามกลาง
มนุษย์และเทวดา ชิวฺหํ นีหริตฺวา แลบพระชิวหาเลียเอาพระนาสิกและพระโสตทั้งสองข้าง
แล้วแลบปกพระนลาต กระทำประหลาดโลก ในโลกนี้จะมีใครเหมือนพระองค์หาบ่มิได้ นี่แหละ
พระพุทธฎีกาตรัสว่าสำรวมดีแล้ว ไฉนพระพุทธองค์จึงไม่สำรวมกาย ไม่มีอายอดสู ไพล่ที่ลับ
ออกให้เขาดูไม่สมควร เหมือนเขาว่ากิริยากับวาจาไม่เหมือนกัน กิริยาอย่างหนึ่ง วาจาพูดอย่าง
หนึ่ง ก็เหมือนพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งของโลก พระกิริยาจริตเห็นผิดกับพระโอษฐ์ อยํ ปญฺโห
ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์โปรดวิสัชนาตัดเสียซึ่งข้อวิมัตกังขาในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ซึ่ง
พระพุทธฏีกาสมเด็จพระมหากรุณาเจ้าโปรดว่าให้บริษัททั้ง 4 สำรวมอินทรีย์ สำรวมวาจา
สำรวมกาย สำรวมได้หมดแล้วประเสริฐนี้ ใช่ว่าพระองค์จะไม่สำรวมกายวาจา จะว่าแต่พระโอษฐ์
เปล่าหามิได้เป็นอันขาด สมเด็จพระมุนีนาถเจ้าสังวรเป็นอันดี การที่สมเด็จพระชินสีห์เจ้า
สำแดงพระคุยหวัตถุที่ลับอันอยู่ในฝักให้เสลพราหมณ์ดูนั้น เป็นด้วยเลาพราหมณ์จะใคร่เห็น
ด้วยบุคคลใดวิมัติสงสัยจะใคร่เห็นที่ลับของพระองค์ ถ้าผู้นั้นจะพ้นทุกข์จะได้มรรคผลแล้ว
สมเด็จพระทศพลเข้าก็ทรงอนุเคราะห์สำแดงแก่บุคคลผู้นั้น แต่ว่าสำแดงให้เห็นแต่พระฉาย
คนทั้งหลายก็เห็นแต่พระฉายที่พระองค์กระทำปาฏิหาริย์ให้เห็นนั้น นี่แหละสมเด็จพระ
สัพพัญญูเจ้าทรงทราบว่าเสลพราหมณ์จะใคร่ดู อนึ่งเล่า พระองค์เจ้าทรงพระดำริทราบว่า
เสลพราหมณ์นั้น เมื่อพระองค์ทรงพระกรุณาเอาออกให้เห็นแล้วจะสำเร็จมรรคผล สมเด็จพระ
ทศพลเจ้าจึงสำแดงคุยหวัตถุอยู่ในฝัก กระทำปาฏิหาริย์ให้เป็นเงา จำเพาะเห็นแต่เสล-